วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิกฤตการณ์อาหารโลก

-->
วิกฤติอาหารโลก
                จากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจ โลกที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ความต้องการสินค้าในน้ำมัน และโลหะสำหรับอุตสาหกรรมลดลงอย่างชัดเจน เพราะความต้องการจากประเทศหลักๆ ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นหรือแม้กระทั่งประเทศจีนต่างชะลอตัวลง
 

              
                  อย่างไรก็ตาม หากจะมองในระยะยาวแล้วจะพบว่า ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของโลก จะมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งนี้ ความต้องการพืชพลังงาน สินค้าเกษตรและอาหารมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก แต่ในด้านอุปทานของการผลิตนั้นจะลดลงด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ เทคโนโลยีที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน) จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันในการใช้พืชเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้เป็นพลังงาน ดังจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพราะอุปทานและเทคโนโลยีที่มีอยู่จะทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น แม้ว่าในระยะสั้นในบางช่วงราคาน้ำมันดิบอาจจะอ่อนตัวลงบ้าง ทำให้ประเทศต่างๆ ส่งเสริมการผลิตพลังงานจากพืชทดแทนมากขึ้น จากมันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ภาวะการขาดแคลนธัญพืชได้เริ่มปรากฏชัดเจน ตัวอย่างเช่นในปีนี้ ประเทศอินโดนีเซียมีการรณรงค์ให้ประชาชนลดการบริโภคข้าวลงโดยหยุดทานข้าว สัปดาห์ละ 1 วัน และหันไปบริโภคอาหารทดแทนประเภทสาคูและอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพราะผลผลิตข้าวในประเทศมีน้อยกว่าความต้องการและต้องมีการนำเข้าข้าวปีละ หลายล้านตัน

 

                มีรายงานการศึกษาถึงความมั่นคงเรื่องอาหารในปี เอาไว้ว่าในระยะเวลาอันใกล้ปีข้างนี้โลกอาจจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร และทำให้เกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารทั่วโลกดังเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2008 และปี 2011 มาแล้ว และวิกฤติอาหารจะรุนแรงในหลายประเทศโดยประเทศยากจน ที่อาจจะรุนแรงจนกระทบต่อภาวะสารอาหาร หลายๆ รัฐบาลและหลายประเทศอาจจะประเมินสถานการณ์การขาดแคลนอาหารที่ต่ำเกินไป 
               จากการศึกษาพบว่า สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ ประเทศร่ำรวยอาหารคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 10-12% ของค่าใช้จ่าย สำหรับประเทศที่ยากจนแล้วอาหารจะคิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 40 สำหรับประเทศที่ยากจน ซึ่งพบว่าราคาของธัญพืช (Grain) เพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าตัวในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และมีคาดการณ์ว่าราคาจะมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 เท่าในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า ซึ่งหากราคาอาหารปรับสูงขึ้นในระดับดังกล่าวแล้ว คาดว่ามิเพียงประเทศยากจนจะถูกกระทบ แม้แต่ประเทศที่ร่ำรวยเองก็อาจจะได้รับผลกระทบด้วย


 

                ปัจจัยลบที่น่ากังวล คือ พบว่าประสิทธิภาพ (Productivity) ที่วัดโดยจำนวนผลผลิตต่อไร่ลดลงมาอย่างต่อเนื่องจากระดับ 3.5% ในช่วงการปฏิวัติเขียวหรือ Green Revolution ในทศวรรษ 1970 ลงมาอยู่ที่ประมาณ 1.5% ในปี ค.ศ. 2010 และมีปัจจัยที่สำคัญๆ อีกสองประการ  คือ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน ที่ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง น้ำท่วมหรือคลื่นพายุร้อน ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและมีความถี่ที่สูงมากขึ้นที่กระทบต่อผลผลิตเกษตรทั่วโลก และ สอง อัตราการลดลงของผลผลิตจากการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น เดิมนั้นการเพิ่มผลผลิตจะมาจากการใช้ปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นแต่เมื่อมีการใช้ปุ๋ย เพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งแล้วอัตราเพิ่มของผลผลิตจะเริ่มลดลง 
 

                ปัจจัยที่น่าจะเป็นบวก ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากรโลกเองก็จะเริ่มชะลอตัวช้าลง จากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงจากการที่คนแต่งงานน้อยลงและมีบุตรจำนวนน้อย ลง แต่อัตราการเพิ่มประชากรโลกจะยังเพิ่มขึ้นจากระดับ 7,000 ล้านในปัจจุบัน ขึ้นไปอยู่ในระดับประมาณ 9 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 และหลังจากนั้นจำนวนประชากรจึงจะเริ่มลดลง
 

                จากปัจจัยข้างต้นนั้นจึงได้มีการประเมินภาพของอาหารโลกในปี 2050 หรือ อีกประมาณ 40 ปีข้างหน้านั้น องค์การอาหารของสหประชาชาติได้ประเมินไว้ว่า โลกมีความจำเป็นจะต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นจากในปัจจุบันประมาณ 60% จึงจะเพียงพอต่อความต้องการ ของอาหารที่เพิ่มขึ้น หรือมิฉะนั้นแล้วประชาชนต้องลดการบริโภคอาหารลง จึงเป็นเรื่องท้าทายว่าจากข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่เพาะปลูก เทคโนโลยีหรือการใช้ปุ๋ยที่มีอยู่จะเพิ่มผลิตให้ได้ 60% อย่างไร และแม้ว่าจะเพิ่มผลผลิตให้ได้ 60% ตามความต้องการได้ แต่ต้นทุนการผลิตและราคาอาหารจะเพิ่มขึ้นอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็น ห่วงมาก    
 

                สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่าโชคดีที่เป็นแหล่งการผลิตอาหารของโลก ดังนั้น วิกฤติอาหารจึงยังจะเป็นโอกาสในการพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออก และสมควรที่จะรักษาจุดแข็งในการเป็นฐานการผลิตเกษตรและอาหารของโลกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ปัจจัยท้าทายว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตเกษตรได้อย่างไร การจะนำเอาเทคโนโลยี การปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ หรือการปรับโครงสร้างการผลิต หรือการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรของประเทศให้ได้อย่างไร

www.lube999.com/index.php?lay=show&ac=article&Id...1


intranet.dwr.go.th/bmpc/karkomru/feb%2055.pdf

www.seub.or.th/index.php?option=com_content...id...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น