วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Nationnal geographic ธันวา 2555

 
Nationnal geographic
 
 
ก๊าซธรรมชาติ
 
 



แสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ลอด ผ่านดงสนสปรูซที่มีหิมะปกคลุมตามริมฝั่งทะเลสาบโกลด์สตรีม        นอกเมืองแฟร์แบงส์ รัฐอะแลสกา เหนือท้องทะเลสาบ แคทีย์ วอลเตอร์ แอนโทนี นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงส์ เพ่งมองแผ่นน้ำแข็งสีดำคล้ำใต้เท้าของเธอ  และ พรายฟองสีขาวที่ถูกกักอยู่ข้างในซึ่งมีทั้งเล็กและใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น วอลเตอร์ แอนโทนี คว้าเหล็กเจาะน้ำแข็งหนักอึ้ง ขณะที่นักศึกษาปริญญาโทอีกคนจุดไม้ขีดรอไว้เหนือฟองอากาศขนาดใหญ่ฟองหนึ่ง วอลเตอร์ แอนโทนี กระแทกเหล็กเจาะน้ำแข็งลงไป
          ก๊าซที่พุ่งออกมาติดไฟ   พึ่บ   จนเธอผงะถอยหลัง เปลวไฟยืนยันว่าพรายฟองเหล่านั้นคือมีเทน    ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของก๊าซธรรมชาติ วอลเตอร์ แอนโทนี ใช้การนับและวัดเพื่อคะเนปริมาณก๊าซมีเทนที่ผุดขึ้นมาจากทะเลสาบนับล้านแห่ง ที่ตอนนี้กินพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของภูมิภาคอาร์กติก ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาทวีปอาร์กติกอบอุ่นขึ้นเร็วกว่าพื้นที่ส่วนอื่นของ โลกอย่างมาก และเมื่อชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) ละลาย ทะเลสาบเดิมก็ขยายตัว ขณะที่ทะเลสาบใหม่ๆก่อตัวขึ้น ฟองมีเทนผุดจากพื้นเลนก้นทะเลสาบในลักษณะที่ยากจะระบุปริมาณได้ ต้องรอให้น้ำในทะเลสาบเริ่มจับตัวแข็งในฤดูใบไม้ร่วง จึงพอจะเห็นภาพคร่าวๆของการปล่อยมีเทนจากทะเลสาบแต่ละแห่งได้
          มีเทน คือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เล็กที่สุด           โดยประกอบด้วยคาร์บอนหนึ่งอะตอมและไฮโดรเจนสี่อะตอม จุลินทรีย์จะผลิตมีเทนเมื่อกินหรือย่อยสลายซากพืชภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปียก ชื้นและมีออกซิเจนต่ำ   นี่คือแหล่งที่มาของมีเทนที่ผุดขึ้นจากทะเลสาบโกลด์สตรีม หนองบึงทั่วไป ไร่นาที่มนุษย์เพาะปลูก พื้นที่ฝังกลบขยะ และบ่อปฏิกูลต่างๆ รวมทั้งจากกระเพาะของวัวควายและสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆ ปลวกก็ปล่อยมีเทนไม่ใช่น้อยเช่นกัน
          ทว่า ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่เรานำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงไม่ได้เกิดจาก จุลินทรีย์       แต่เกิดจากความร้อนและแรงดันใต้ดิน เช่นเดียวกับน้ำมันและถ่านหิน และมักพบในแหล่งเดียวกันด้วย สำหรับเหมืองถ่านหิน มีเทนคือก๊าซอันตรายที่อาจก่อให้เกิดการระเบิด ขณะที่แหล่งขุดเจาะน้ำมันมองว่า มีเทนคือผลพลอยได้น่ารำคาญที่ต้องเผาทิ้ง หรือแย่กว่านั้นคือปล่อย สู่ชั้นบรรยากาศโดยตรง ครั้นเมื่อท่อส่งน้ำมันที่สร้างขึ้นในช่วงอุตสาหกรรมก่อสร้างเฟื่องฟูหลัง สงครามโลกครั้งที่สองเอื้อให้การขนส่งก๊าซทำได้ง่ายขึ้น ธุรกิจพลังงานจึงเริ่มใช้ประโยชน์จากแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่
          สหรัฐฯ ผลิตก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ได้เอง แต่พอถึงปี 2005 ก๊าซธรรมชาติก็ดูเหมือนร่อยหรอลง แต่แล้วเทคโนโลยีการขุดเจาะก๊าซด้วยแรงดันน้ำ (hydraulic fracturing) หรือที่เรียกสั้นๆว่า “แฟรกกิ้ง” (fracking) กลับช่วยพลิกสถานการณ์  นับ ตั้งแต่ปี 2005 การผลิตก๊าซจากหินดินดานที่อยู่ลึกลงไปเพิ่มขึ้นกว่าสิบเท่า และตอนนี้ก็คิดเป็นสัดส่วนเกินหนึ่งในสามของกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติทั้ง หมด
          ความ เฟื่องฟูของเทคโนโลยีแฟรกกิ้งย้อนกลับไปถึงทศวรรษ 1980 ในรัฐเทกซัส ที่ซึ่งจอร์จ มิตเชลล์ “นักล่าน้ำมัน”   เริ่มสำรวจหมวดหินดินดานบาร์เนตต์ (Barnett Shale)   เรา รู้มานานแล้วว่า หินดินดานสีดำหรือชั้นโคลนอัดแน่นของทะเลโบราณคือหมวดหินอันเป็นแหล่งกำเนิด ของน้ำมันปิโตรเลียม ทว่าตลอดระยะเวลาอันยาวนานของธรณีกาล น้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ไหลไปสะสมอยู่ตามรูพรุนและโพรงในหินทรายซึ่ง อุตสาหกรรมน้ำมันเลือกไปตั้งบ่อขุดเจาะ บ่อที่ตั้งอยู่บนหินดินดานให้ผลผลิต ต่ำ เพราะเนื้อหินแน่นเกินไปจนก๊าซไหลผ่านได้ยาก
          วิธี แก้ปัญหาของมิตเชลล์ซึ่งพัฒนาขึ้นในช่วง 20 ปีโดยมีกระทรวงพลังงานสหรัฐฯให้การสนับสนุน กลายเป็นสูตรสำเร็จที่นำไปสู่ความแพร่หลายของเทคโนโลยีขุดเจาะก๊าซด้วยวิธี แฟรกกิ้ง โดยเริ่มจากการขุดเจาะลงไปจนถึงชั้นหินดินดาน แล้วทะลวงหินออกไปในแนวราบเป็นระยะทางราว 1.6 กิโลเมตร เพื่อเปิดพื้นที่ให้ก๊าซจากหินดินดานที่อยู่รอบๆไหลเข้าสู่บ่อ (แนวดิ่ง) มากขึ้น จากนั้น จึงทำการฉีดอัดน้ำหลายล้านลิตร สารเคมีหล่อลื่น และทรายภายใต้แรงดันสูงลงไปเพื่อทำให้หินแตกออก ส่งผลให้มีเทนไหลเข้าสู่บ่อ
          ในเพนซิลเวเนียและที่อื่นๆ การขุดเจาะก๊าซในหินดินดานรุดหน้าไปไกลกว่าความพยายามในการทำความเข้าใจ และ จำกัดผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมดังกล่าวมาก กระนั้นก็ตาม     จนถึงขณะนี้ ผลกระทบของเทคโนโลยีดังกล่าวดูจะน้อยกว่าการทำเหมืองถ่านหินมาก   ซึ่งอย่างหลังทำให้เกิดการปนเปื้อนของแม่น้ำลำธารอย่างหนักในเพนซิลเวเนีย ขณะที่ยอดเขาหลายยอดในเวสต์เวอร์จิเนียถูกไถปราบจนราบ และคนงานเหมืองถ่านหินในสหรัฐฯยังสังเวยชีวิตปีละหลายร้อยคนโดยส่วนใหญ่เกิด จากโรคปอดดำ (black lung disease) การเปรียบเทียบนี้มีนัยสำคัญเพราะก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูกทำให้การใช้ถ่าน หินลดลง        ย้อนหลังไปเพียงปี 2007 ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเกือบครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ แต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินลดลงเหลือร้อยละ 34
          ก๊าซ ธรรมชาติไม่เหมือนถ่านหินตรงที่เผาไหม้โดยไม่ปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์    ปรอท        หรือละอองธุลีสู่บรรยากาศ และไม่มีขี้เถ้า มิหนำซ้ำยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพียงแค่ครึ่งเดียว รายงานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกที่สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ หรืออีพีเอ (Environmental Protection Agency: EPA)      รวบรวมไว้ชี้ว่า เมื่อปี 2010 สหรัฐฯปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าปี 2005 คิดเป็นปริมาณกว่า 400 ล้านตัน หรือร้อยละ 7
          เว้น เสียแต่ว่ามีก๊าซมีเทนรั่วไหลสู่บรรยากาศมากเกินไป   ขณะที่การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของสหรัฐฯลดลงในช่วงปี 2005 ถึง 2010 แต่การปล่อยก๊าซมีเทนกลับเพิ่มสูงขึ้น อีพีเอชี้ว่าเมื่อถึงปี 2010 ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอาจเทียบเคียงกับศักยภาพในการก่อภาวะโลกร้อนเท่ากับการ ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 40 ล้านตัน ซึ่งหมายความว่าการปล่อยก๊าซมีเทนที่เพิ่มขึ้นทำให้ประโยชน์ที่เกิดจากการลด การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หดหายไปร้อยละ 10
          หาก พิจารณาจากตัวเลขของอีพีเอแล้ว วิธีการแฟรกกิ้งยังคงเป็นวิธีที่ดีสำหรับภูมิอากาศ (เมื่อเทียบกับการทำเหมืองถ่านหิน) แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเห็นต่างโดยบอกว่า อีพีเอประเมินการปล่อยมีเทนและที่สำคัญคือศักยภาพในการก่อภาวะโลกร้อนของ โมเลกุลมีเทนแต่ละโมเลกุลต่ำกว่าความเป็นจริง พวกเขาแย้งว่า   มีเทนที่รั่วจากบ่อขุดเจาะ ท่อส่ง เครื่องเพิ่มความดันก๊าซ และถังเก็บ ทำให้ก๊าซมีเทนจากหินดินดานส่งผลเสียต่อสภาพอากาศยิ่งกว่าถ่านหิน
          กฎ ระเบียบใหม่ที่อีพีเอประกาศใช้ในปีนี้กำหนดให้อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติต้อง วัดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซลง การรั่วไหลสูงสุดจุดหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อการขุดเจาะด้วยวิธีแฟรกกิ้งแล้วเสร็จ และของเหลวภายใต้แรงดันสูงจากกระบวนการแฟรกกิ้งไหลย้อนกลับขึ้นไปในบ่อพร้อม กับมีเทน กฎใหม่กำหนดให้บริษัทผลิตก๊าซเริ่มดักจับมีเทนดังกล่าวภายในปี 2015
          ผู้ เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า การดักจับมีเทนเป็นโอกาสอันดียิ่ง โดยให้เหตุผลว่าทำได้ง่ายกว่าการควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชะลอภาวะ โลกร้อน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น เพราะมีเทนเพียงน้อยนิดก็สร้างความแตกต่างใหญ่หลวงได้ และมีเทนยังเป็นเชื้อเพลิงล้ำค่าอีกด้วย ตัวอย่างเช่น จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ ปล่อยมีเทนปริมาณมหาศาลจากเหมืองเพื่อป้องกันการระเบิด ในช่วงทศวรรษ 1990 สมัยที่มุฮัมมัด เอล-อัชรี นักธรณีวิทยาชาวอียิปต์เป็นผู้บริหารองค์กรสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility) ที่ องค์การสหประชาชาติและธนาคารโลกก่อตั้งขึ้น เขาได้มอบเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้โครงการต่างๆที่ผันมีเทนจากเหมืองหลายแห่งของจีนไปเป็น เชื้อเพลิงให้บ้านเรือนหลายพันหลังในย่านใกล้เคียง เอล-อัชรีบอกว่า ทั่วโลกมีโครงการเช่นนี้รอการสนับสนุนเงินทุนอยู่อีกหลายร้อยโครงการ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น